OUR BLOG

ภาษีและการคำนวณภาษีนำเข้า ที่ธุรกิจนำเข้าต้องรู้

idg cover content 18

ณ ช่วงวินาทีเศรษฐกิจแบบนี้หลายบริษัทเริ่มสนใจในเรื่องของธุรกิจนำเข้ากันมากขึ้น เพราะสามารถสร้างผลกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ แต่ธุรกิจนำเข้านั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายๆ ยิ่งทำเป็นธุรกิจใหญ่รายละเอียดปลีกย่อยยิ่งเยอะและประเด็นสำคัญในการนำเข้าคือเรื่อง ภาษีและอากร


ภาษี (Tax)
การนำสินค้าเข้ามาในประเทศ จะต้องมีการเสียภาษี ภาษีจะเรียกเก็บในอัตราเดียวกันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นสินค้าชนิดใดก็ตาม แต่ก็จะมีการยกเว้นในบางกรณี เฉพาะบางประเทศ

อากร Duty
เป็นสิ่งที่รัฐบาลจะบังคับจัดเก็บจากประชาชนโดยจะเรียกเก็บตามส่วนของมูลค่าสินค้า และส่วนของปริมาณสินค้า ขึ้นอยู่กับว่าประเทศปลายทางมีกฎหมายในการเก็บภาษีอย่างไร เพราะแต่ละประเทศก็จะมีการเรียกอากรที่แตกต่างกันไป 

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทฯ ผู้ประกอบการจดทะเบียนและเป็นผู้นำเข้าได้เสียไป เมื่อตอนนำเข้าถือเป็นภาษีซื้อตามมาตรา 77/1(18)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ใบเสร็จรับเงินที่กรมศุลกากรออกให้ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อตอนนำเข้าให้ถือเป็นใบกำกับภาษี ตามมาตรา 86/14 แห่งประมวลรัษฎากร

ในการนำเข้า การคำนวณภาษีขาเข้าเป็นเรืองที่ผู้นำเข้าไม่ว่าจะรายเล็กหรือใหญ่ต้องทราบและคิดให้เป็น
และต้องไม่ลืมที่จะนำค่าภาษีไปบวกในต้นทุนเพื่อกำหนดราคาขายด้วย
โดยกรมศุลกากรมีวิธีการคิดภาษีนำเข้าโดยใช้ราคา CIF (Cost Insurance and Freight)


CIF คืออะไร
C  คือ Cost หมายถึง ต้นทุน สามารถดูได้ในใบ Commercial Invoice หรือ ใบ PO
I   คือ Insurance หมายถึง ประกันภัย เราจะใช้ยอดทำประกัน ซึ่งมีสองทางเลือก
        1. ประกันเพื่อออกของ คิด1% จาก Cost (เคลมไม่ได้)
        2. ประกันเพื่อเคลมได้ (คือซื้อประกันกับบริษัทประกันจริงๆ)
        แนะนำให้เลือกแบบ 2 ค่ะ เพราะยอดจ่ายอาจถูกกว่าหรือเท่ากับ1 แต่เคลมประกันได้เมื่อสินค้าเกิดความเสียหาย
F  คือ Freight คือค่าขนส่งเราจะรู้ได้ไงว่าค่า Freight เท่าไหร่ ก็สอบถามจากบริษัท Freight Forwarder ได้ค่ะ
เมื่อทราบความหมายของ CIF แล้วว่ามีอะไรบ้างแล้วเราก็ไปคำนวณภาษีกันเลยค่ะ

สูตรการคำนวณ
1.ค่าสินค้า + ประกันภัย + ค่าขนส่งระหว่างประเทศ  = CIF
2.ราคา CIF x อัตราภาษีขาเข้า (%)  =  อากรขาเข้า (อัตราภาษีขาเข้า 5%, 10%, 20% หรือ 30% ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้านั้นๆ)
3.ราคา CIF + อากรขาเข้า x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%  =  ภาษีมูลค่าเพิ่ม
4.อากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม = มูลค่ารวมภาษีขาเข้าที่ต้องชำระ

ตัวอย่างการคำนวณ
1.มูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามา  100,000.00 บาท
2.ค่าประกัน 1,000.00  (1%) *ในกรณีที่ไม่ได้ทำประกันภัย
3.ค่าขนส่งระหว่างประเทศ 10,000.00
4.10% อัตราภาษีนำเข้า

1.ราคา CIF :  ค่าสินค้า + ประกัน + ค่าขนส่งระหว่างประเทศ  = ราคา CIF
                      100,000.00 + 1,000.00 + 10,000.00  = 111,000.00
2.ค่าภาษี :  ราคา CIF x อัตราภาษีขาเข้า = ภาษี
                      111,000.00 x 10%  = 11,100.00
3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม: ภาษี + ราคา CIF x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
                            11,100.00 + 111,000.00 x 7% = 8,547,00
4.รวมภาษีที่ต้องชำระ:  ภาษี + ภาษีมูลค่าเพิ่ม  = ค่าภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ
                                        11,100.00+ 8,547.00 = 19,647.00
นี่คือยอดภาษีขาเข้าเข้าแบบคร่าวๆ แต่ผู้ประกอบการก็สามารถนำไปคิดคำนวณวางแผนกำหนดราคาขายได้ และก็อย่าลืมบวกประมาณการค่าขนส่ง ค่าเคลียร์สินค้า เข้าไปด้วยเพื่อจะได้ไม่ขาดทุนกันนะคะ


ข้อควรทราบ
*ราคามูลค่าสินค้าขั่นต่ำที่ต้องเสียภาษีนำเข้าขึ้นอยู่กับข้อกำหนดทางกฏหมายของแต่ละประเทศ
**ค่าภาษีสำหรับใช้เพื่อชำระค่าภาษีนำเข้ากับกรมศุลกากรให้ดูจากใบขนสินค้าขาเข้าตัวจริง
***HS Code (Harmonized System) คือ ระบบจำแนกประเภท และระบุชนิดด้วยรหัสเลข 6 หลัก เป็นมาตรฐานสากลที่องค์การศุลกากรโลก (WEC) จัดทำขึ้นเพื่อจัดจำแนกและระบุสินค้าที่มีการซื้อขายได้อย่างถูกต้อง หรือเรียกว่า ‘พิกัดศุลกากร’ ดาวน์โหลดพิกัดศุลกากรได้ที่ www.customs.go.th

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ