OUR BLOG

ART TOY EP2 : ผลงานสุดสร้างสรรค์ สู่ของสะสมมีมูลค่าสูง

จดทะเบียนเตรื่องหมายการค้ากับเครื่องมือแพทย์ 38

                 ในบทความนี้จะมาเจาะลึก Art toy กับ IP กันอีกครั้งต่อจากบทความเดิม (ART TOY ศิลปะที่มากกว่าของเล่น)  คงปฏิเสธไม่ได้ว่า   ในช่วงนี้ ART TOY ถือเป็นกระแสของนักสะสมและผู้ที่ชื่นชอบในคาแรคเตอร์การ์ตูนทั้งนักสะสมหน้าเก่าและหน้าใหม่ เกือบทุก Collection ที่ทาง POPMART นำออกจำหน่าย SOLD OUT เกือบทั้งหมด ยิ่ง ART TOY ที่มีการ Collaboration ระหว่างแบรนด์หรือตัวละครที่มีชื่อเสียงด้วยกันแล้ว ถือเป็นสินค้า limited edition ของนักสะสมกันเลยทีเดียว

image 1709360029787113847b5793812t131eea8d

ขอบคุณรูปภาพจาก : POP MART

               หนึ่งในตัวอย่าง Art toy ที่มาแรงคงหนีไม่พ้น CRYBABY ที่มีคุณมอลลี่เจ้าของผลงาน ได้สร้างชื่อในวงการนักสะสม ด้วยเวลาเพียง 5 ปี แถมยังเป็นศิลปินไทยคนแรกและคนเดียว ที่ได้ร่วมงานกับ POPMART บริษัทของเล่นกล่องสุ่มชื่อดัง และในช่วงเดือนมีนาคมนี้ ทาง CRYBABY จะมีการ collab ระหว่าง CRYBABY กับ Powerpuff Girls เป็นcollection ที่นักสะสม CRYBABY และ Powerpuff Girl ตั้งตารอเป็นอย่างมาก ซึ่งการ collab ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการนําอุตสาหกรรมของ ART TOY ไปสู่อีกระดับ อย่างไรก็ตามด้วยตลาดที่กําลังเติบโต เจ้าของงาน ART TOY ควรต้องยิ่งให้ความสำคัญในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างมากเช่นกัน
ในบทความนี้เราจะเจาะลึกโลกของ ART TOY ว่าสามารถนำงานดังกล่าวมาปกป้องความคิดสร้างสรรค์ของเจ้าของผลงานได้อย่างไรบ้าง ก่อนที่จะเจาะลึกด้านการคุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งสําคัญคือต้องเข้าใจว่าทรัพย์สินทางปัญญาหมายถึงอะไร ทรัพย์สินทางปัญญา((Intellectual Property) หมายถึงผลงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ โดยเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินอีกรูปแบบหนึ่ง นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (สิทธิบัตร,เครื่องหมายการค้า,แบบผังภูมิวงจรรวม,สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) และลิขสิทธิ์

โดยบทความนี้จะเน้นงานทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความเกี่ยวข้องกับ Art toy ดังนี้

1.การคุ้มครองลิขสิทธิ์
                  ในประเทศไทยเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ การคุ้มครองลิขสิทธิ์จะได้รับการคุ้มครองโดยอัตโนมัติทันทีที่สร้างสรรค์งาน สําหรับ ART TOY จะได้รับความคุ้มครองในประเภทศิลปกรรม เช่น ภาพวาด งานปั้น ภาพพิมพ์ เป็นต้น ถึงแม้จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแล้ว แต่อย่างไรก็ตามทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา ยังมีบริการจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ คือ การนำผลงานดังกล่าวไปยื่นจดแจ้งได้ เพื่อเป็นใช้เป็นหลักฐานเบื้องต้นในการแสดงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ รวมถึงใช้เป็นหลักประกันทางการเงินได้เช่นกัน

2.การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า
             ในส่วนความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าจะคุ้มครองในส่วนของชื่อทางการค้า, สัญลักษณ์ทางการค้า, คำข้อความ ภาพถ่าย ภาพประดิษฐ์ เป็นต้น โดยการจดทะเบียนเครื่องหมายจะต้องระบุรายการสินค้าหรือบริการภายใต้เครื่องหมายที่ยื่นไปด้วย รวมถึงควรตรวจสอบความเหมือนคล้ายก่อนยื่นจดทะเบียน โดยคาแรคเตอร์ของ Art toy หรือชื่อเรียกของตัวคาแรคเตอร์เองก็สามารถนำมาจดทะเบียนเครื่องหมายได้ เครื่องหมายการค้าจึงถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอีกประเภทหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างมูลค่าทางการตลาดให้กับเจ้าของเครื่องหมาย รวมถึงสร้างค่านิยมของผู้บริโภคด้วย เจ้าของเครื่องหมายจึงจำเป็นต้องมีการจดทะเบียนเพื่อขอรับความคุ้มครองตามกฎหมายและเป็นการป้องกันการละเมิดจากผู้อื่น (ตัวอย่างคาแรคเตอร์ที่นำมาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า)

messageImage 1710303115804

3. การคุ้มครองสิทธิบัตร
             การคุ้มครองสิทธิบัตรจะคุ้มครองเกี่ยวกับการประดิษฐ์ กลไก การออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึงรูปร่าง ลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด สิ่งสำคัญในการขอสิทธิบัตรจะต้องไม่เคยเปิดเผยข้อมูลงานนั้นมาก่อนและต้องเป็นงานที่มีความใหม่เช่นกันในส่วน Art toy อาจเกี่ยวข้องกับขอรับความคุ้มครองด้านการออกแบบตัว ART TOY ในคาแรคเตอร์ต่าง ๆ สิ่งสําคัญเมื่อมีการ Collaboration กับเครื่องหมายการค้าหรืองานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น ทั้งสองฝ่ายจําเป็นต้องทำข้อตกลงหรือการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายหรือลิขสิทธิ์ของตน เพื่อเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย ดังกรณี Cry Baby ของ Popmart กับ Powerpuff Girls ที่ได้มีการทำข้อตกลงหรือทำสัญญาอนุญาตในการใช้ผลงานของกันและกัน โดยต้องระบุขอบเขตการใช้งาน เงื่อนไขในการใช้สิทธิเครื่องหมายหรือลิขสิทธิ์ดังกล่าว การจัดแบ่งรายได้ สิทธิในการจัดจำหน่าย เป็นต้น ถือเป็นการยกระดับธุรกิจของทั้งสองฝ่ายได้อย่างคุ้มค่า รวมถึงการสร้างฐานกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ

             นอกจากนี้การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมายการค้าหรือสิทธิบัตร หากต้องการขอรับความคุ้มครองที่ประเทศไหนต้องจดที่ประเทศนั้น เนื่องจากตามหลักของกฎหมายจะคุ้มครองตามหลักดินแดน การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศจําเป็นต้องเข้าใจกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละประเทศว่ามีเงื่อนไขในการขอรับความคุ้มครองอย่างไรบ้าง แต่ในส่วนของลิขสิทธิ์จะเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนและยังได้รับความคุ้มครองไปยังต่างประเทศ (ตามรายชื่อประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญากรุงเบิร์น) แต่หากผู้ขอต้องการที่จะจดแจ้งก็สามารถขอจดแจ้งตามประเทศที่ต้องการได้เช่นกัน

            สุดท้ายนี้ในยุคที่ AI เข้ามามีบทบาทในวงการศิลปะมากขึ้น ศิลปินบางคนอาจใช้ AI เข้ามาสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ โดยการใช้วิธีการเขียนคำสั่ง (Prompt) หากแต่งานดังกล่าวทางสำนักงานลิขสิทธิ์สหรัฐฯ (USCO) มองว่า AI ไม่มีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ เพราะขาดความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์และกฎหมายลิขสิทธิ์มีผลเฉพาะสำหรับงานสร้างสรรค์ของมนุษย์เท่านั้น (ข้อมูล เพจกรมทรัพย์สินทางปัญญา) ดังนั้นหากผู้สร้างสรรค์งานต้องการให้กฎหมายคุ้มครองผลงานที่ตนได้สร้างสรรค์ ผลงานนั้นควรมาจากความคิดและความอุตสาหะของตน และยังเป็นการส่งเสริมให้วงการศิลปะยังคงเติบโตต่อไป ในอนาคตอาจจะเห็นศิลปินไทยได้ collab กับผลงานระดับโลกแบบ cry baby

            IDG พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนธุรกิจและช่วยปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของคุณโดยสามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอรับคำปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของเราได้ ฟรี!

Contact us :

โทร : 02-011-7161 ต่อ 101 ฝ่ายลิขสิทธิ์ เเละเครื่องหมายการค้า

E-mail : [email protected]

เปิดทำการวันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 09:00 – 18:00 น

หรือท่านสามารถสแกน QR Code เพิ่มเพื่อน หรือเพิ่มเพื่อน
LINE ID : @idgthailand เพื่อติดต่อเราผ่าน
แอพพลิเคชั่น LINE ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ