OUR BLOG

5 ตุลาคม วันนวัตกรรมแห่งชาติ

5 ตุลาคม วันนวัตกรรมแห่งชาติ

5 ตุลาคม

วันนวัตกรรมแห่งชาติ

 

“การแกล้งดิน” โดยวิธีการที่ได้พระราชทานไว้นั้น สามารถทำให้บริเวณพื้นที่ดินที่เปล่าประโยชน์และไม่สามารถทำอะไรได้ กลับฟื้นคืนสภาพที่สามารถทำการเพาะปลูกได้อีกครั้งหนึ่งด้วยวิธีการอันเกิดจากพระปรีชาสามารถโดยแท้

 
image 1

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส

ด้วยสภาพพื้นที่ทางภาคใต้มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำการเพาะปลูกไม่ได้ เนื่องจากมีกรดกำมะถัน อันเป็นสาเหตุของดินเปรี้ยวอยู่เป็นอันมาก วิธีการแก้ไขตามแนวพระราชดำริ ก็คือ การใช้กรรมวิธี “แกล้งดิน” คือ การทำดินให้เปรี้ยว ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันเพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดินให้มีความเป็นกรดจัดมากขึ้นจนถึงที่สุด จากนั้นจึงมีการทดลองปรับปรุงดินเปรี้ยวโดยวิธีการต่างๆ กัน เช่น โดยการควบคุมระบบน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน การใช้วัสดุปูนผสมประมาณ 1-4 ตันต่อไร่ การใช้น้ำชะล้างจนถึงการเลือกใช้พืชที่จะเพาะปลูกในบริเวณนั้น และทำการศึกษาวิเคราะห์ เพื่อหาวิธีปรับปรุงดินเปรี้ยวให้สามารถกลับมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

และด้วยเหตุนี้ คณะะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จึงได้มีมติให้ดำเนินการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็น “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “แกล้งดิน” ในเขตจังหวัดนราธิวาส และมีมติให้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วันที่ 5 ตุลาคม ของทุกปี เป็น “วันนวัตกรรมแห่งชาติ” เนื่องจากเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสร็จฯ ทอดพระเนตรการดำเนินโครงการศูนย์พิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และได้มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการแกล้งดินอย่างเป็นทางการ

k4

เหตุผลในการเลือกโครงการ “แกล้งดิน” เนื่องจากพระราชดำริครั้งนี้เป็นครั้งแรกในโลกในการนำเสนอแนวคิดและการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อปรับปรุงสภาพพื้นที่ที่มีความเปรี้ยวจนไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ เช่น ดินพรุในเขตภาคใต้ มาพัฒนาหาวิธีที่เหมาะสมในการปรับปรุงพื้นที่จนสามารถนำมาเพาะปลูกพืชได้อีกครั้ง ทั้งนี้แนวพระราชดำริดังกล่าวได้เน้นให้เห็นถึงการประสมประสานนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีควบคู่กับนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ จนได้วิธีที่เหมาะสมในการแก้ไขดินเปรี้ยวได้

ทฤษฎี “แกล้งดิน” เริ่มจากวิธีการ แกล้งดินให้เปรี้ยวจัด ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีให้ดินเปรี้ยวจัดปีละหลายๆ ครั้งจนกระทั่งดินมีสภาพความเป็นกรดสูงที่สุด เพื่อจะนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการหาวิธีการปรับปรุงดินและปริมาณของสารเคมีหรือน้ำที่ต้องใช้ในการปรับปรุงดินในพื้นที่พรุให้สามารถปลูกพืชและทำการเกษตรได้ ทั้งนี้แนวทางการแก้ไขขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ คุณสมบัติของดิน ลักษณะพื้นที่ ลักษณะการทำการเกษตรในพื้นที่ดังกล่าว เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://guru.sanook.com
ภาพจาก : www.photoontour.com, soscity.co, edtguide.com

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ