ทรัพย์สินทางปัญญาเบื้องต้น มีอะไรบ้าง กี่ประเภท

idg cover content 5

Table of Contents

ทรัพย์สินทางปัญญา คืออะไร

ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่จำกัดชนิดของการสร้างสรรค์ หรือวิธีการแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่าง ๆ หรือในรูปแบบของสิ่งของที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ กรรมวิธีการผลิตในอุตสาหกรรม เป็นต้น

ทรัพย์สินทางปัญญา มีกี่ประเภท

ทรัพย์สินทางปัญญาในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ลิขสิทธิ์ (Copyright) และทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) ซึ่งเรื่องลิขสิทธิ์อาจเป็นเรื่องที่เราได้ยินบ่อย ๆ ส่วนทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมคนส่วนใหญ่อาจไม่คุ้นหูมากนัก แต่หากสิ่งที่มีอยู่รอบตัวเราในชีวิตประจำวันนั่น ล้วนจะเป็นทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 

1. ลิขสิทธิ์ (Copyright)

หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะกระทำการใดๆ กับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกในรูปแบบอย่างใด โดยประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้ง 9 ประเภท (อ่านเพิ่มเติม : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจดแจ้งลิขสิทธิ์ )

2. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property)

หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ ความคิดสร้างสรรค์นี้อาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการหรือเทคนิคในการผลิต ที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า การคุ้มครองพันธุ์พืช แบบผังภูมิของวงจรรวม และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น โดยทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมแบ่งออกได้ดังนี้

  • สิทธิบัตร (Patent)

    เป็นการคุ้มครองการคิดค้นสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ (Invention) หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท (อ่านต่อ :การจดสิทธิบัตรเบื้องต้น )

ตัวอย่างสิทธิบัตร 

ตัวอย่างสิทธิบัตร

 
  • ความลับทางการค้า (Trade Secrets) 

    ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป โดยเป็นข้อมูลที่มีมูลค่าในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากข้อมูลนั้นเป็นความลับ และมีการดำเนินการตามสมควรเพื่อทำให้ข้อมูลนั้นปกปิดเป็นความลับ

ตัวอย่างความลับทางการค้า

         เช่นสูตร Coca-cola 

ตัวอย่าง ความลับทางการค้า

  • ชื่อทางการค้า (Tradename)

    หมายถึง ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ 

ตัวอย่างชื่อทางการค้า

เช่น ไทยประกันชีวิต ขนมบ้านอัยการ เป็นต้น

  • สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)

    สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์ดังกล่าว 

ตัวอย่างสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

เช่น ข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้ ผ้าไหมยกดอกลำพูน ส้มโอนครชัยศรี ไข่เค็มไชยา เป็นต้น

  • แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout – Designs Of Integrated Circuit)

    หมายถึง แบบ แผนผัง หรือภาพที่ทำขึ้น ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบหรือวิธีใดเพื่อแสดงถึงการจัดวาง และการเชื่อมต่อของวงจรไฟฟ้า 

ตัวอย่างแบบผังภูมิวงจรรวม
เช่น ตัวนำไฟฟ้า หรือตัวต้านทาน เป็นต้น

ความแตกต่างของทรัพย์สินทางปัญญา

ถ้าต้องการปกป้องสิทธิ เราก็ต้องยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งการที่ท่านจะบอกผู้อื่นว่า เป็นเจ้าแรก เจ้าเดียวนั้น จะต้องแลกกับการเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่าสิ่งนั้นมีความใหม่จริง แล้วจะขอความคุ้มครองอะไรดีนั้น วันนี้ IDG จะมาบอกความแตกต่างของทรัพย์สินทางปัญญากัน อ่านต่อ : ความแตกต่างของทรัพย์สินทางปัญญา

ทำไมต้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

  • เพื่อส่งเสริมให้เกิดการคิดค้น และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ จากการต่อยอดองค์ความรู้
  • เพื่อให้การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือหารายได้ในอนาคต สามารถสร้างผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่เจ้าของผลงาน
  • เพื่อรักษาสิทธิเจ้าของผลงาน ใช้ยืนยันความเป็นเจ้าของผลงานได้อย่างถูกต้อง
  • เพื่อป้องกันการถูกละเมิดผลงาน หรือลอกเลียนในอนาคตได้

ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา มีโทษอย่างไร

ในปัจจุบันมีบทลงโทษตามกฎหมายสำหรับผู้ที่กระทำความผิดละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะ ซึ่งบทลงโทษจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่ประเภททรัพย์สินทางปัญญาตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง ซึ่งโทษนั้นก็มีตั้งแต่โทษปรับ ไปจนถึงระวางโทษจำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับเลยทีเดียว ดังนั้นการดำเนินการใดก็ตามที่มีความเสี่ยงต่อการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาผู้อื่น จำเป็นต้องมีการดำเนินการขออนุญาตที่ถูกต้องเท่านั้น หรือจำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาในการช่วยดำเนินการ และวางกลยุทธ์อย่างมั่นใจ 

อ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา law-dip001.pdf (ipthailand.go.th)