OUR BLOG

“ปิดฉากกาแฟฉาว” พบไม่ได้ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายจาก อย.

ก่อนซื้อแฟรนไชส์ 1400 × 768 px 1

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีเหตุการที่ทำให้ผู้ประกอบการกาแฟหลาย ๆ ท่าน นอนไม่หลับนั้นคือในกรณีของ “ปิดตำนานกาแฟสัปดน” TCC หรือ สภาองค์กรของผู้บริโภคระบุว่าผู้ผลิตรายดังกล่าวทำการตลาดที่ผิดกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 อีกทั้งยังมีการแอบอ้างโฆษณาเกินจริง และไม่ได้ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายจาก อย. ต่อมาทาง อย. ยังเตรียมเรียกผู้ผลิตมาชี้แจง รวมถึงให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดูรายละเอียดรวมทั้งสถานที่ผลิต ได้รับอนุญาตและมีความสะอาดปลอดภัยหรือไม่ หากพบมีความผิดมีโทษปรับเกี่ยวกับฉลาก 5,000 บาท

dFQROr7oWzulq5Fa5LBRrPE8EutBlsUD8KGB7K6w1AZbjN4uSLi78aWk2yJg8mVNyzl 1

                                                                                               ขอขอบคุณรูปภาพจาก สำนักข่าวไทยรัฐ

                 จากที่ TCC ระบุว่าผู้ผลิตดังกล่าวผิด พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 (1979) แล้ว พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 ควบคุมอะไรบ้าง ในพระราชบัญญัตินี้ตามมาตรา 4 “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่

(1) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วการนั้น แล้วแต่กรณี

(2) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารรวมถึงวัตถุ เจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส 

(ข้อสังเกตุ)

messageImage 1697017895654

แล้วผู้ประกอบการจะขายกาแฟเมล็ดคั่วแบบนี้จะต้องขอ อย. หรือไม่แล้วร้านกาแฟทั่ว ๆ ไปแบบเราจะต้องขออย. ไหม ?

วันนี้ IDG มีคำตอบมาให้ทุกคนได้ทราบกัน

  1. ถ้านาย A ผลิตและขายสินค้าให้กับผู้บริโภคเองโดยตรงหน้าบ้าน / หน้าร้าน โดยที่ลูกค้าสามารถตรวจสอบได้ว่า ผลิตที่ไหนและอย่างไร  รวมไปถึง การที่นาย A คั่วเมล็ดกาแฟขายที่ตลาด ก็สรุปได้ว่า นาย A ไม่จำเป็นต้องจด อย. 
  2. ถ้าในกรณีที่ นาย A มีการขายผ่านช่องทางออนไลน์ หรือ จะเป็นนาย B ที่มีการขายกาแฟคั่วผ่านพ่อค้าคนกลาง รวมถึงช่องทางอื่น ๆ    ที่ผู้บริโภคไม่สามารถตรวจสอบขั้นตอนการผลิตได้ ดังนั้น ทั้ง นาย A และ B ต้องขึ้นทะเบียนสถานที่ผลิตและผลิตภัณฑ์ตามลำดับ เนื่องจากผู้บริโภคไม่สามารถตรวจสอบได้ การขอ อย. หรือเลข 13 หลักจะทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพของสินค้าของเรา

 

แนวทางในการขอเครื่องหมาย อย. : การขึ้นทะเบียนกับทางอย. นั้น จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ

1. การขึ้นทะเบียนสถานที่ผลิต หรือสถานที่นำเข้า โดยมีหลักการคร่าว ๆ คือการจัดแปลนการทำงานให้ไปในทิศทางเดียวกัน เป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน 
2. การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์  โดยทางผู้ประกอบการจะต้องเตรียมข้อมูล โดยท่านสามารถศึกษา แนวทางการขึ้นทะเบียนสถานที่และผลิตภัณฑ์ได้จากขั้นตอนการขึ้นทะเบียน อย. 

แล้วการขายแบบไหนต้องขอ. อย แบบไหนไม่ต้องขอ. ร้านกาแฟทั่ว ๆ ไปแบบเราจะต้องขอ อย. ไหม ?

ทาง IDG ได้เคยเขียนบทความนี้ไว้แล้ว ในกรณีของ “แม่ค้าขายน้ำส้มได้ถูกเจ้าหน้าที่ล่อซื้อไปจำนวนมาก” ผู้ประกอบการสามารถศึกษาข้อมูลได้จากบทความ อยากทำน้ำส้มขาย อย. จำเป็น หรือไม่ ?

ข้อมูลที่เรานำมาให้ทุกท่านได้ศึกษากันในครั้งนี้ ถือเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบเป็นอย่างมาก เพราะฉนั้นผู้ประกอบการควรตรวจสอบให้ดีก่อนว่าสินค้าที่คุณจำหน่ายนั้นจำเป็นต้องขึ้นทะเบียน อย. หรือ ไม่อย่างนั้นอาจจะโดนดำเนินคดีตามกฏหมายได้ ท่านใดที่ต้องการนำเข้า ผลิต ขึ้นทะเบียนสินค้า เพื่อจำหน่ายสินค้าควรนำมาจดทะเบียนให้ถูกต้อง สร้างความน่าเชื่อถือเเละความปลอดภัยให้กับลูกค้า เเละเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้าเราอีกด้วย

 

IDG มีบริการจดทะเบียนนำเข้า – ผลิต ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ เรามีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยเหลือทุกขั้นตอน เราช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยากเเละพร้อมให้คำปรึกษา ฟรี !

 

 

ท่านสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการขึ้นอย. (FDA) โดยตรงได้ที่….

โทร: 02-011-7161 ต่อ 102 

E-Mail: [email protected]

Line : @idgthailand

เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและแนะนำท่านอย่างเต็มที่ในทุกบริการที่ท่านประสงค์

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ