OUR BLOG

ไขข้อสงสัย ? ทำไมต้องติดอากรแสตมป์ในสัญญา

จดทะเบียนเตรื่องหมายการค้ากับเครื่องมือ1

        บางท่านอาจเคยเห็นเอกสารที่มีการติดอากรแสตมป์ไม่ว่าจะเป็นหนังสือมอบอำนาจ หนังสือสำคัญต่าง ๆ รวมถึงสัญญาหลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า สัญญาค้ำประกัน สัญญาจำนองและหรือจำนำ ฯลฯ และอาจเกิดข้อสงสัยว่าอากรแสตมป์นั้นติดไปเพื่ออะไร จำเป็นต้องติดไว้ในเอกสารประเภทใดบ้าง และหากไม่ติดจะเกิดผลกระทบตามมาหรือไม่วันนี้ IDG รวบรวมข้อมูลไว้ที่นี้แล้ว

        เริ่มต้นที่ อากรแสตมป์ คือ การจัดเก็บภาษีประเภทหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งมีรูปแบบการชำระในรูปแบบของแสตมป์ ซึ่งอากรแสตมป์นั้นสามารถหาซื้อได้ตามสรรพากรพื้นที่ และสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาต่าง ๆ  ทั่วประเทศ รวมถึงสำนักงานที่ดิน สำนักงานขนส่งหรือหน่วยงานราชการอื่น ๆ หน้าที่ในการติดอากรแสตมป์นั้น จะเกิดขึ้นเมื่อมีการทำตราสาร 28 ลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน “บัญชีอากรแสตมป์“

อากรแสตมป์ 1

ซึ่งต้องติดอากรแสตมป์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่จัดทำเอกสารเสร็จสมบูรณ์ และขีดฆ่าอากรแสตมป์ทุกครั้งหลังติดเพื่อป้องกันการนำอากรแสตมป์ไปใช้ซ้ำอีกครั้ง

        หลายคนอาจสงสัยว่าการไม่ติดอากรแสตมป์นั้นมีผลทางกฎหมายหรือไม่อย่างไร ตามหลักกฎหมายกำหนดไว้ ว่าหากไม่มีการปิดอากรแสตมป์ (ปิดแสตมป์บริบูรณ์) เราจะไม่สามารถใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ หรือแม้แต่สำเนาเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้เลย จนกว่าจะได้เสียอากรแสตมป์ครบทั้งจำนวนก่อนความผิดในการไม่ติดอากรแสตมป์นั้นนอกจากจะไม่สามารถนำมาเป็นพยานหลักฐานได้ ยังถือว่ามีความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาอีกด้วย โดยมีโทษ  ดังต่อไปนี้

  • ความผิดทางแพ่ง
    • ไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์เกินกว่า 15 วัน แต่ยังไม่เกิน 90 วัน ต้องเสียค่าปรับเพิ่ม 2 เท่าหรือ 4 บาท (คำนวณจากอัตราที่มากกว่า)
    • ไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์เกินกว่า 90 วันต้องเสียค่าปรับเพิ่ม 5 เท่าหรือ 10 บาท (คำนวณจากอัตราที่มากกว่า)
    • หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบต้องเสียค่าปรับเพิ่ม 6 เท่าหรือ 25 บาท (คำนวณจากอัตราที่มากกว่า)
  • ความผิดทางอาญา
    • ไม่เสียค่าอากรหรือไม่ขีดฆ่า มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
    • แบ่งแยกมูลค่าการชำระอากร เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียอากรแสตมป์ มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
    • ไม่ทำหรือไม่เก็บบันทึกใบรับหรือไม่ออกใบรับให้ทันทีที่ถูกเรียกร้องหรือออกใบรับซึ่งไม่ปิดแสตมป์ตามจำนวนอากรที่ต้องเสีย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท 
    • ผู้ใดโดยตนเองหรือสมคบกับผู้อื่นทำให้ไม่มีการออกใบรับหรือไม่ออกใบรับให้ทันทีที่รับเงิน หรือรับชำระราคา หรือออกใบรับเป็นจำนวนเงินน้อยกว่า ที่รับเงินหรีอรับชำระราคาจริง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาทหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ
    • จงใจขัดขวางเจ้าพนักงานหรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อชักถามมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
    • ติดแสดมป์ปลอม หรือค้นแสตมป์ที่ใช้แล้วหรือที่มีกฎกระทรวงประกาศให้เลิกใช้แล้ว ปรับไม่เกิน 5,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ

            เพราะฉะนั้นทางที่ดีทุกครั้งที่จัดทำสัญญาควรตรวจสอบให้ดีทุกครั้งว่าเอกสารนั้นจำเป็นต้องติดอากรหรือไม่ จำนวนเท่าใด และควรติดอากรให้ถูกต้องตามกฎหมาย และอย่าลืมขีดฆ่าอากรทุกครั้งหลังปิดอากรเสร็จสิ้น จะเห็นได้ว่าในการร่างสัญญามักมีรายละเอียดที่ค่อนข้างมากดังนั้น IDG มีผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาด้านสัญญาทุกประเภทพร้อมให้คำปรึกษาฟรี

IDG SERVICE 48

เขียนบทความโดย 

คุณณัฐภัทร อุฬารพิตร

ที่ปรึกษากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

Contact us :

โทร : 02-011-7161 ต่อ 106 ฝ่ายกฏหมาย

E-mail : [email protected]

เปิดทำการวันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 09:00 – 18:00 น

หรือท่านสามารถสแกน QR Code เพิ่มเพื่อน หรือเพิ่มเพื่อน
LINE ID : @idgthailand เพื่อติดต่อเราผ่าน
แอพพลิเคชั่น LINE ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ