Global PATENT
Protector
บริการสืบค้น ร่างคำขอ ยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตร และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศ (ทั่วโลก)
จดสิทธิบัตรต่างประเทศ มีแบบไหนบ้าง
ระบบ PCT (PCT Route)
สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (Patent Cooperation Treaty) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวก ลดภาระ ขั้นตอน และค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ขอรับสิทธิบัตรที่ต้องการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรในหลาย ๆ ประเทศซึ่งในปัจจุบันนั้น มีประเทศเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกกว่า 150 ประเทศทั่วโลก
ระบบ PCT จะมีค่าใช้จ่ายและใช้ระยะเวลามากกว่าระบบยื่นตรง เนื่องจากต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบโดยองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ (ISA) ซึ่งผลการตรวจค้นระหว่างประเทศ
- ผู้ขอรับสิทธิบัตรจะมีระยะเวลาในการพิจารณาประเทศที่ต้องการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรมากขึ้น
- ผู้ขอรับสิทธิบัตรจะได้รับผลการตรวจค้นระหว่างประเทศ ซึ่งช่วยพิจารณาความเป็นไปได้ในการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรระดับประเทศ
นอกจากนี้ การประดิษฐ์ที่ได้รับการตรวจสอบโดยองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศจะได้รับการเผยแพร่ลงในฐานข้อมูลสิทธิบัตรระดับโลกด้วย
ขั้นตอนการดำเนินการผ่านระบบ PCT
- ขั้นตอนระหว่างประเทศ (International Phase) มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินการต่าง ๆ ภายใต้ระเบียบขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) เช่น การยื่นคำขอระหว่างประเทศ การสืบค้บจากองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ และการประกาศโฆษณาลงในฐานข้อมูลสิทธิบัตรระดับโลก
- ขั้นตอนระดับประเทศ (National Phase) เป็นการยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรต่อสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาระดับประเทศ ซึ่งแต่ละประเทศจะมีกฎระเบียบต่าง ๆ ภายในที่แตกต่างกัน อาจใช้เวลาในการรับจดสิทธิบัตรประมาณ 2 – 5 ปี ขึ้นอยู่กับนโยบายของสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาประเทศนั้น ๆ
- เหมาะสำหรับผู้ขอที่ไม่สามารถดำเนินการขอรับความคุ้มครองในประเทศที่ต้องการภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่ยื่นคำขอแรก
- คำขอช่วยให้ผู้ขอมีเวลาในการพิจารณาประเทศที่ต้องการขอรับความคุ้มครองเพิ่มขึ้นเป็น 30 เดือน นับแต่วันที่ยื่นคำขอแรก
- จะได้รับการประเมินโดยหน่วยงานตรวจสอบระหว่างประเทศ ซึ่งช่วยให้ผู้ขอทราบคุณภาพงานก่อนการขอรับความคุ้มครองในต่างประเทศ
ระบบการยื่นตรง (Direct Route)
ชื่ออย่างเป็นทางการคือระบบ Paris Convention ซึ่งจะเป็นการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไปยังสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรต้องการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรโดยตรง
มีข้อดีตรงที่มีความประหยัดมากกว่าทั้งในแง่ของค่าใช้จ่ายและระยะเวลา เนื่องจากเป็นการดำเนินการต่อสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศนั้น ๆ โดยตรง การยื่นตรงนั้นผู้ขอรับสิทธิบัตรจะต้องทำการยื่นออกนอกประเทศภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ยื่นคำขอครั้งแรก เพื่อที่จะได้เข้าเงื่อนไขในการขอถือสิทธิย้อนหลังไปยังคำขอรับสิทธิบัตรที่เคยยื่นไว้ครั้งแรก
นอกจากนี้ หากผู้ขอรับสิทธิบัตรไม่สามารถดำเนินการภายใน 12 เดือน งานดังกล่าวก็มีโอกาสจะถูกตีตรา “ไม่มีความใหม่” โดยผู้ตรวจสอบ และไม่ได้รับจดในประเทศนั้น ๆ เลยก็เป็นได้
- เหมาะสำหรับผู้ขอที่สามารถดำเนินการขอรับความคุ้มครองในประเทศที่ต้องการ ภายใน 12 เดือยนับแต่วันที่ยื่นคำขอแรก
การยื่นขอรับสิทธิบัตรตามภูมิภาค (Regional Route)
เป็นการยื่นขอรับสิทธิบัตรต่อสำนักงานสิทธิบัตรแห่งภูมิภาค โดยให้ถือว่าคำขอรับสิทธิบัตรนั้นมีผลต่อทุกประเทศที่เป็นสมาชิก ดังนี้
- องค์การสิทธิบัตรยุโรป (EPO)
- องค์การทรัพย์สินทางปัญญาภูมิภาคแอฟริกา (ARIPO:African Regional Intellectual Property Organization)
- องค์การทรัพย์สินทาง, ปัญญาแอฟริกา (OAPI: African Intellectual Property Organization)
- องค์การสิทธิบัตรยูเรเซีย (EAPO: Eurasian Patent Organization)
เราให้บริการสืบค้น จัดทำรายงานผลการสืบค้น ร่างคำขอรับสิทธิบัตรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
พร้อมดำเนินการด้านสิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศทั่วโลกอย่างครบวงจร
สิทธิบัตรมีขอบเขตความคุ้มครองเฉพาะในประเทศที่ผู้ขอได้ยื่นขอรับความคุ้มครองไว้เท่านั้น และการพิจารณารับจดทะเบียนสิทธิบัตรขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ตรวจสอบ ซึ่งการประดิษฐ์เองก็ต้องสอดคล้องกับกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ด้วย
คำขอรับสิทธิบัตรระหว่างประเทศ (PCT) ขั้นตอน International Phase ไม่ใช่ระบบรับจดทะเบียนสิทธิบัตร หากผู้ขอประสงค์ให้การประดิษฐ์ได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตรในประเทศใด จะต้องดำเนินการในขั้นตอนระดับประเทศต่อไปด้วย
FAQ
ทำไมต้องจดสิทธิบัตรในต่างประเทศ?
ในกรณีต้องการใช้ประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์ของตนเองในหลาย ๆ ประเทศ โดยปกติแล้วสิทธิบัตรมีขอบเขตความคุ้มครองเฉพาะในประเทศที่ผู้ขอได้ยื่นขอรับความคุ้มครองไว้เท่านั้น
แบบยื่นตรง หรือผ่านระบบ PCT เลือกแบบไหนดี?
ทั้งสองแบบมีข้อดีและข้อเสียต่างกัน เราควรพิจารณาเลือกตามความเหมาะสม และความสะดวก เราสามารถขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรโดยตรง
PCT เป็นระบบการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรเลยหรือไม่?
ระบบ PCT ไม่ได้เป็นระบบรับจดสิทธิบัตร แต่เป็นเพียงกลไกในการอำนวยความสะดวกในการขอรับความคุ้มครองในแต่ละประเทศเท่านั้น เนื่องจากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาในแต่ละประเทศ ก็จะมีกฎระเบียบที่แตกต่างการในการพิจารณารับจดทะเบียนสิทธิบัตร
เราสามารถเลือกองค์กรตรวจค้นเองได้หรือไม่?
สำหรับคำขอจากประเทศไทย เราจะสามารถเลือกองค์การตรวจค้นได้ภายใน 7 หน่วยงานที่กรมทรัพย์สินทางปัญญากำหนด ได้แก่ สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา
เลือกองค์กรตรวจค้นไหนให้ตรวจสอบงานของเราดี?
องค์การตรวจค้นในแต่ละประเทศจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน ผู้ขอรับสิทธิบัตรสามารถเลือกองค์กรที่เหมาะสมกับงบประมาณของตนเองได้ แต่ถ้าหากไม่ได้พิจารณาในประเด็นงบประมาณเป็นหลัก การเลือกองค์การตรวจค้นเป็นหน่วยงานในประเทศเดียวกับที่เราจะเข้าไปจดสิทธิบัตร จะมีแนวโน้มที่จะใช้เวลาในการรับจดสิทธิบัตรเร็วมากขึ้น นอกจากนั้น สามารถที่จะนำผลการตรวจสอบของสิทธิบัตรที่ได้รับจดทะเบียนแล้วไปอ้างอิงเพื่อเร่งการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ในบางประเทศ
จำเป็นต้องยื่นคำขอในประเทศไทยก่อนที่จะยื่น PCT หรือไม่?
ไม่จำเป็น ผู้ขอรับสิทธิบัตรสามารถยื่นขอ PCT ในขั้นตอนระหว่างประเทศก่อน จากนั้นจึงค่อยยื่นเข้าประเทศไทยผ่านขั้นตอนภายในประเทศก็ได้ หรือหากผู้ขอรับความคุ้มครองพิจารณาแล้วว่าประเทศไทยไม่ได้อยู่ในเป้าหมายหลักในการทำตลาด ก็สามารถยื่นเข้าผ่านขั้นตอนภายในประเทศเฉพาะประเทศที่ต้องการได้
คำขอ PCT สามารถยื่นด้วยตนเองได้หรือไม่?
ผู้ขอสามารถยื่นได้ด้วยตนเองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือผ่านระบบ ePCT แต่เนื่องจากการยื่นคำขอผ่านระบบ PCT นั้น จะมีระเบียบต่าง ๆ ที่ค่อนข้างเฉพาะ การยื่นผ่านตัวแทนสิทธิบัตรนั้นจึงเป็นที่นิยมสำหรับบริษัท ผู้ประกอบการ รวมถึงนักประดิษฐ์ ที่ต้องการความมั่นใจในความถูกต้องของเอกสารด้านสิทธิบัตรเพื่อลดโอกาสที่จะได้รับคำสั่งให้แก้ไข ซึ่งเป็นการเสียเวลาและนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดยตัวแทนจะเป็นผู้ช่วยดำเนินการจัดเตรียมเอกสารให้สอดคล้องกับข้อกำหนด ประสานงานด้านการแปลภาษาให้เป็นไปตามรูปแบบของสิทธิบัตร ติดตามคำขอ รวมถึงให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกทั้งในขั้นตอนระหว่างประเทศ และขั้นตอนในประเทศอีกด้วย
สอบถามข้อมูล
หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่ IDG
กรุณากรอกแบบฟอร์มเพื่อส่งข้อมูลถึงเรา
ทางเราจะติดต่อกลับทันทีที่ได้รับอีเมลดังกล่าวในเวลาทำการ
หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่ IDG กรุณากรอกแบบฟอร์มเพื่อส่งข้อมูลถึงเรา
ทางเราจะติดต่อกลับทันทีที่ได้รับอีเมลดังกล่าวในเวลาทำการ
- วันจันทร์–เสาร์ เวลา 09:00 น. ถึง 18:00 น.
หรือท่านสามารถสแกน QR Code เพิ่มเพื่อน หรือเพิ่มเพื่อน
by ID : @idgthailand เพื่อติดต่อเราผ่าน
แอพพลิเคชั่น LINE ได้ตลอด 24 ชั่วโมง