OUR BLOG

6 ขั้นตอน ง่าย ๆ ของการยื่นสิทธิบัตรในโซนยุโรป

Patent ยุโรป

6 ขั้นตอน ง่าย ๆ ของการยื่นสิทธิบัตรในโซนยุโรป

ถ้าพูดถ้าพูดถึงสิทธิบัตรแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่ทุกคนคิด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เราคิดค้น หรือ การออกแบบ ก็สามารถนำไปยื่นจดสิทธิบัตรได้เหมือนกัน ขอเพียงอย่างน้อยให้มีความโดดเด่น และ แตกต่าง

แน่นอนว่า IDG ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตร อยากให้หลาย ๆ คนรู้จักกับสิทธิบัตรมากขึ้น และเป็นไปตามคาด ! เพราะมีหลาย ๆ ท่านได้ความรู้เพิ่มเติม จากบทความมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สิทธิบัตร และ ขอบเขตความคุ้มครอง หรือ จดสิทธิบัตรในต่างประเทศไม่ใช่เรื่องยาก ! ถ้ารู้ 5 อย่างนี้

ครั้งนี้เรามาพูดถึงการยื่นสิทธิบัตรในโซนยุโรปกันบ้าง เพราะมีผู้ประกอบการณ์ไม่น้อยเลยทีเดียว ที่ได้ให้ความสนใจที่จะให้ผลงานของตัวเองเป็นที่รู้จักและป้องกันการถูกละเมิดนั่นเอง



การยื่นสิทธิบัตรเข้าไปในกลุ่มประเทศแถบยุโรป จะมีอยู่ 3 วิธี หลัก ๆ ดังนี้:

1. การยื่นตรง (Direct Route)

2. การยื่นผ่านกลุ่มสมาชิกในแต่ละภูมิภาค (Regional route)

การยื่นสิทธิบัตรผ่านกลุ่มสมาชิก (Regional route) เป็นการยื่นคำขอผ่านระบบกลางที่ประเทศกลุ่มสมาชิก (ที่ร่วมลงนาม) เพื่ออำนวยความสะดวกในการยื่นสิทธิบัตรเข้าในหลาย ๆ ประเทศ ที่อยู่ในทวีป หรือ ภูมิภาคนั้น ๆ นั่นเอง

อย่างเช่น ในโซนยุโรป จะมีข้อตกลงสิทธิบัตรยุโรป (EPC: European Patent Convention) ซึ่งภายใต้ข้อตกลงนี้ หากต้องการยื่นเข้าประเทศสมาชิก จะต้องยื่นผ่านสำนักงานสิทธิบัตรยุโรป (EPO: European Patent Office) ก่อน เพื่อที่จะเป็นสิทธิบัตรยุโรป แล้วจากนั้นจึงทำการเลือกบังคับใช้สิทธิในประเทศที่ต้องได้การในภายหลัง

ประเทศสมาชิกภายใต้ข้อตกลงสิทธิบัตรยุโรป (EPC) มีจำนวน 38 ประเทศ ดังนี้:
อัลบาเนีย ออสเตรีย เบลเยี่ยม บัลแกเรีย โครเอเชีย ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมัน กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิกเตนสไตน์ ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา โมนาโก เนเธอร์แลนด์ มาซิโดเนีย นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย ซานมารีโน เซอร์เบีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี อังกฤษ


นอกจากนี้ ยังมีประเทศที่เป็นสมาชิกเพิ่มเติม (Extensions States) คือ

  • บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  • มอนเตเนโกร

และ ยังสามารถเลือกบังคับใช้สิทธิ ในสิทธิบัตรยุโรปในประเทศโมรอคโค มอลโดวา ตูนิเซีย กัมพูชา ได้อีกด้วย ! โดยจะเรียก 4 ประเทศภายใต้ข้อตกลงสิทธิบัตรยุโรปนี้ว่า Validation States

หรือ จะเป็นในส่วนของภูมิภาคอื่น ๆ อย่างเช่น องค์การทรัพย์สินทางปัญญาภูมิภาคแอฟริกา (ARIPO:African Regional Intellectual Property Organization), องค์การทรัพย์สินทาง, ปัญญาแอฟริกา (OAPI: African Intellectual Property Organization) และ องค์การสิทธิบัตรยูเรเซีย (EAPO: Eurasian Patent Organization)

3. ผ่านกลุ่มสมาชิกในแต่ละภูมิภาค (Regional route)


การยื่นสิทธิบัตเมื่อเราได้พูดถึง 3 วิธีการหลัก ๆ ในการยื่นสิทธิบัตรในแถบยุโรปกันไปแล้ว IDG จะมาพูดถึงขั้นตอนต่าง ๆ กันมั่ง


การยื่นสิทธิบัตรเข้าไปในกลุ่มประเทศแถบยุโรป จะมีอยู่ 3 วิธี หลัก ๆ ดังนี้:

1. การเตรียมเอกสาร และ การยื่นเอกสาร

  • การเตรียมเอกสาร ได้แก่
    1. รายละเอียดการประดิษฐ์, ข้อถือสิทธิ, รูป, บทสรุปการประดิษฐ์
      • กรณีที่ยื่นเป็นภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศษ หรือ เยอรมัน จะต้องทำการแนบคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศษ หรือ เยอรมันไปด้วย เนื่องจากสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปจะพิจารณาเฉพาะเอกสารที่เป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศษ หรือ เยอรมันเท่านั้น
    2. แบบฟอร์มคำขอ
    3. เอกสารอื่น ๆ อย่างเช่น เอกสารรับรองคำขอรับสิทธิบัตร ในกรณีที่ขอถือสิทธิย้อนหลัง

เพิ่มเติม* : ข้อถือสิทธิ คือ การระบุข้อความ เพื่อเป็นการกำหนดขอบเขตสิทธิ ของสิทธิบัตรนั้น และ สิ่งประดิษฐ์ที่ได้มีการบรรยายไว้ในข้อถือสิทธิเท่านั้น ที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย หรือ พูดได้ว่า ข้อถือสิทธิคือหัวใจสำคัญของสิทธิบัตรนั่นเอง

  • การยื่นเอกสาร
    1. ดำเนินการยื่นเอกสารและชำระค่าธรรมเนียมที่สำนักงานสิทธิบัตรยุโรป
    2. หลังจากยื่น คำขอจะถูกตรวจสอบข้อมูลและเอกสาร (Formality Examination) ว่ามีความครบถ้วน ถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องก็จะได้รับวันยื่นคำขอ หากไม่ครบจะต้องทำการยื่นย้อนหลังหรือยื่นแก้ไขตามระยะเวลาที่กำหนด

2. การสืบค้น (Prior art search)

หลังจากการตรวจสอบแบบฟอร์มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำนักงานสิทธิบัตรยุโรปจะทำการสืบค้นและจัดทำรายงาน (European Extended Search Report) ซึ่งประกอบด้วย รายงานที่กล่าวถึงเอกสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับงานประดิษฐ์ที่ได้ยื่นไป รวมไปถึง ความคิดเห็นของสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปในด้านเกณฑ์พิจารณาสิ่งประดิษฐ์

3. การประกาศโฆษณา (Publication)

หลังจากครบ 18 เดือน (นับจากวันที่ยื่นคำขอครั้งแรก) คำขอจะได้รับการประกาศโฆษณาพร้อมกับรายงาน โดยหลังจากประกาศโฆษณาผู้ยื่นคำขอจะมีเวลา 6 เดือนในการยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการตรวจสอบการประดิษฐ์ และ การแต่งตั้งประเทศสำหรับบังคับใช้สิทธิในสิทธิบัตรยุโรป (Designation Fee)

4. การตรวจสอบการประดิษฐ์ (Substantive Examination)

หลังจากยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ สำนักงานสิทธิบัตรยุโรปจะทำการตรวจสอบคำขอตามเกณฑ์พิจารณา ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าหากไม่ผ่านเกณฑ์พิจารณา คำขอก็อาจถูกเพิกถอน หรือ หากมีการได้รับคำสั่งนายทะเบียนก็สามารถทำการยื่นแก้ไขได้

5. การรับจดทะเบียน (Grant)

หากผู้ตรวจสอบพิจารณาว่าคำขอนี้พร้อมที่จะได้รับจดแล้ว จะมีคำสั่งให้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรยุโรป โดยผู้ขอจะต้องยื่นคำแปลข้อถือสิทธิเป็น 2 ภาษา จากภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมัน ขึ้นอยู่กับเอกสารคำแปลในขั้นตอนการยื่น หากยื่นคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ ในขั้นตอนการรับจดนี้จะต้องทำการยื่นคำแปลข้อถือสิทธิเป็นภาษาฝรั่งเศสและเยอรมันนั่นเอง และ พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการรับจดและประกาศโฆษณารอบที่ 2

เมื่อชำระเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คำขอจะได้รับจดทะเบียนและประกาศโฆษณาการได้รับจด ทั้งนี้ ถึงแม้จะได้รับจดทะเบียนแล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะถูกยื่นโต้แย้งได้เป็นเวลา 9 เดือน นับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียน

6. การเลือกประเทศปลายทาง (Validation)

ภายหลังได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรยุโรป ผู้ขอจะต้องดำเนินการยื่นเอกสารเข้าไปในประเทศที่ต้องการบังคับใช้สิทธิในสิทธิบัตรยุโรป ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีกฎเกณฑ์ต่างกัน เช่น เอกสารประกอบในการยื่น การชำระค่าธรรมเนียม (มีในบางประเทศ) จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ในขั้นตอนการยื่นเข้าประเทศปลายทางนี้ สามารถปรึกษากับทาง IDG เพื่อที่ทางเราจะได้ทำการให้ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับเอกสารที่จะต้องใช้ในแต่ละขั้นตอน การเตรียมตัว ค่าใช้จ่าย เป็นต้น




การยื่นสิทธิบัตรในกลุ่มประเทศแถบยุโรป จะมีรายละเอียดขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยาก ยิ่งโดยเฉพาะในขั้นตอนการเลือกประเทศปลายทาง (Validation) ที่รายละเอียดจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศสมาชิก

ดังนั้นทาง IDG อยากขอแนะนำให้ใช้บริการตัวแทนสำหรับให้ข้อมูลและคำแนะนำต่าง ๆ รวมถึงการดำเนินการยื่นในกลุ่มประเทศแถบยุโรปและการดูแลคำขอรับสิทธิบัตร เพื่อความสะดวกสบาย และ ประหยัดเวลามากขึ้น โดย IDG มีบริการจดสิทธิบัตรทั้งในประเทศไทย และ ต่างประเทศ รวมถึง ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมากกว่า 10 ปี และ นวัฒกรรม เทคโนโลยี ต่าง ๆ ที่มีความพร้อมในการสนับสนุนสิ่งประดิษฐ์ และ ธุรกิจของท่าน





หากท่านใดสนใจต้องการรับคำปรึกษาเพิ่มเติมในด้านสิทธิบัตรทาง IDG มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาทุกท่าน
โทร: 02-011-7161 ถึง 6 (ติดต่อ 301 – 304) ฝ่ายสิทธิบัตร
E-Mail: [email protected]
Line: @idgthailand



Share this article

Facebook
Twitter
LinkedIn

ปรึกษา IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญ